รถเช่าเชียงราย บริการให้เช่ารถตู้ รถเก๋ง ในเชียงราย
 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  |  
 ตะกร้าสินค้า (0)
 

         

 


ประวัติพ่อขุนเม็งรายมหาราช ( พญามังรายมหาราช )
ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ผู้สถาปนาเมืองเชียงรายเป็นราชธานี

  พ่อขุนเม็งราย เป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเมงแห่งราชวงศ์ ลั๊วจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ตรงกับพุทธศักราช 1781 เมื่อมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา พระบิดาได้สู่ขอ ธิดาเจ้าเมืองเชียงเรืองมาเป็นคู่อภิเษกแล้วโปรดให้เมงรายเป็นมหาอุปราช เมื่อพระเจ้าลาวเมงสวรรคตในปี พ.ศ. 1802 เมงรายราชโอรสจึงได้ครองเมืองหิรัญนครเงินยางสืบแทน ในขณะที่มีพระชนม์ 21 พรรษา

ครั้งนั้น เมืองเล็กเมืองน้อยต่าง ๆ ในแคว้นลานนาเกิดแตกความสามัคคี ต่างตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ทั้ง ๆ ที่เจ้าเมืองส่วนใหญ่ก็เป็นพระญาติของพระองค์ คือสืบเชื้อสายมาจาก ลั๊วจักราชด้วยกัน พ่อขุนเม็งรายจึงมีพระดำริที่จะรวบรวมเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายเข้าเป็น อาณาจักรเดียวกัน เพื่อความสงบสุขของอาณาประชาราษฎร์ซึ่งต่างก็เป็นคนไทยดังนั้นจึงมีใบบอกไป ยังเมืองต่าง ๆ ที่ตั้งตัวเป็นอิสระให้มาอ่อนน้อม เมืองใดแข็งข้อก็ส่งกองทัพไปปราบ ตีได้เมืองมอบเป็นเมืองแรก ต่อมาได้เมืองไร เมืองเชียงคำ ให้ถอดเจ้าผู้ตรองนครออกแล้วแต่งตั้งขุนนางอยู่รั้งเมืองแทน แต่นั้นมาหัวเมืองใหญ่น้อยทั้งหลายต่างพากันมาสวามิภักดิ์โดยสิ้นเชิง

เมื่อรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือได้แล้ว ก็คิดจะยกทัพไปปราบหัวเมืองฝ่ายใต้ต่อไป ในปี พ.ศ. 1805 ขณะยกทัพไปถึงเมืองลาวกู่เต้าและประทับบอยู่ที่นั่น เผอิญช้างทรงของพระองค์ซึ่งทอดไว้ที่ป่าหัวดอยทางทิศตะวันออก หลุดพลัดไป พระองค์จึงเสด็จตามรอยช้างไปจนถึงดอยจอมทอง ริมฝั่งแม่น้ำกก ทอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศเป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้โปรดให้สร้างพระนครขึ้น โดยก่อกำแพงโอบรอบ เอาดอยจอมทองไว้ภายในขนานนามว่า เมืองเชียงราย แล้วให้ย้ายราชธานีจากเมืองหิรัญนครเงินยาง มาตั้งอยู่ที่เชียงรายนับแต่นั้นมา

ในปี พ.ศ. 1819 พ่อขุนเมงรายได้ยกกองทัพไปประชิดเมืองพะเยา พ่อขุนงำเมือง ผู้ครองเมืองพะเยาออกมารับเสด็จด้วยไมตรีและยกตำบลบ้านปากน้ำให้แก่พ่อขุนเม งรายแล้วปฏิญาณเป็นมิตรกัน ต่อมาอีกราว 4 ปี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช แห่งอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนงำเมือง และพ่อขุนเมงราย ได้กระทำสัตย์ปฏิญาณเป็นพระสหายกัน โดยทรงเอาโลหิตที่นิ้วพระหัตถ์ผสมกับน้ำสัตย์เสวยทั้งสามพระองค์สัญญาว่าจะ ไม่เบียดเบียนกันตลอดชีวิต
และในปี พ.ศ. 1834 พ่อขุนเม็งรายเสด็จไปสร้างเมืองใหม่ที่เชิงดอยสุเทพ ใช้เวลาสร้างนาน 5 ปี พ.ศ. 1839 จึงเสด็จและสถาปนานครแห่งนี้ว่า เชียงใหม่

พ่อขุนเม็งรายทรงประสูติมาเพื่อเป็นผู้กอบ กู้และรวบรวมชาวไทยให้ป็นกลุ่มก้อน เพื่อระงับครามทุกข์เข็ญต่าง ๆ ในแผ่นดินและสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้เกิดขึ้นในแคว้นลานนาเป็นอเนกประการ พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระองค์เท่าที่ประมวลได้โดยสังเขปมีดังนั้น

1. ทรงสร้างเมืองเอกในแว่นแคว้นถึง 3 เมืองได้แก่

     เมืองเชียงราย เมื่อ พ.ศ. 1805
     เมืองกุมกาม (ปัจจุบันคืออำเภอสารภีจังหวัดเชียงใหม่) เมื่อ พ.ศ. 1829
     เมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 1834

นอกจากนั้น พระองค์ยังได้ทรงบูรณะเมืองหิรัญนครเงินยาง และในปี พ.ศ.1811 ได้บูรณะเมืองฝางเพื่อใช้เป็นที่ชุมนุมไพร่พลของพระองค์ (ซึ่งแต่เดิมเมืองฝางตกเป็นเมืองขึ้นของเมืองหิรัญนครเงินยางมาก่อน) และโปรดให้ขุนอ้ายเครือคำลก หรือขุนเครื่อง ราชโอรสองค์ใหญ่ไปครองเมืองฝาง

2. ทรงแผ่พระเดชาในทางการรบ กล่าวคือหลังจากได้ส่งกองทัพไปปราบเมืองมอบ เมืองไร และเมืองเชียงคำได้แล้ว ในปี พ.ศ. 1824 ตีเมืองหริภุญชัยจากพระยายีบา กษัตริย์ขอม พระยายีบาหลบหนีไปอยู่กับพระเบิกที่นครเขลางค์พ.ศ. 1828 พระยายีบาและพระยาเบิกยกทัพขอมมาเพื่อตีเมืองหริภุญชัยคืน พ่อขุนเมงรายจึงทรงแต่พระโอรสคือ ขุนคราม ยกทัพออกไปต้านทาน ได้รบกับพระเบิก และจับพระยาเบิกสำเร็จโทษ พระยายีบารู้ข่าวว่าเสียบุตรจึงทิ้งเมืองเขลางค์หนีไปพึ่งพระยาพิษณุโลก เจ้าขุนครามจึงได้เมืองเขลางค์อีกเมืองหนึ่งนับว่าดินแดนภาคเหนือทั้งหมดพ่อ ขุนเมงรายได้ครอบครองโดยทั่วอาณาจักรลานนาในรัชสมัยของพระองค์มีอาณาเขต กว้างไกลดังนี้

     ทิศเหนือ จด สิบสองปันนา
     ทิศใต้ จด อาณาจักรสุโขทัย
     ทิศตะวันออก จด แคว้นลาว
     ทิศตะวันตก จด แม่น้ำสาละวิน

พ.ศ. 1829 ยกทัพไปตีเมืองหงสาวดีพระเจ้าหงสาวดีเจงพยุเจง เกรงพระบารมีจึงแต่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายขอเป็นไมตรีโดยยกพระราชธิดาพระนามว่านางปายโค (ตะละแม่ศรี) ให้เป็นบาทบริจาริกาแด่พ่อขุนเม็งราย
พ.ศ. 1832 ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระเจ้าอังวะให้ราชบุตรนำเครื่องบรรณาการมาต้อนรับขอเป็นไมตรี

3. ทรงนำความเจริญในด้านศิลปกรรม เกษตรกรรม และพาณิชยกรรมมาสู่แคว้นลานนา โดยเมื่อครั้งที่ยกทัพไปตีเมืองพุกาม พระองค์ได้นำช่างฝีมือต่าง ๆ เช่น ช่างฆ้อง ช่างทอง และช่างเหล็ก ชาวพุกามเข้ามาฝึกสอนขาวลานนาไทย จึงเข้าใจว่าศิลปต่าง ๆ ของพุกามที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบันน่าจะเริ่มมาแต่นั้นเมื่อจำนวนไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์มีมากขึ้น ก็ทรงจัดหาทำเลที่เหมาะสมในการเกษตรและการค้าเพื่อให้มีอาชีพทั่วหน้า

4. ทรงเป็นนักปกครองที่สามารถและประกอบด้วยคุณธรรมสูงสพ่อ ขุนเมงรายทรงเลื่อมในและศรัทธาในพระพุทธศาสนา โดยเป็นองค์ศาสนูปถัมภกและทรงนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการปกครองราษฎรของ พระองค์ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมีศีลธรรมอันดีมีอัธยาศัยโอบอ้อมอารี แก่คนทั่ไปซึ่งเป็นมรดกด้านคุณธรรมที่ตกทอดถึงลูกหลานชาวลานนา จนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักรบผู้แกล้วกล้า แต่การใดที่เป็นทางนำไปสู่ความหายนะเป็นเหตุให้เสียเลือดเนื้อระหว่างคนไทย ด้วยกัน พระองค์จะทรงหลีกเลี่ยง ดังจะเห็นได้จากการที่พระองค์ทรงรับไมตรีจากเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ และการกระทำสัตย์ปฏิญาณระหว่างสามกษัตริย์ดังกล่าว
พระปรีชาสามารถในด้านการปกครองอีกเรื่องหนึ่งได้แก่ การวางระเบียบการปกครองหรือกฎหมายที่ทรงตามขึ้นไว้เป็นพระธรรมศาสตร์ ใช้ในการปกครองแผ่นดิน เรียกว่า กฎหมายมังรายศาสตร์ เพื่อให้ลูกขุนใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจรณาในการพิพากษาผู้กระทำผิดสมควรแก่ โทษานุโทษโดยมิให้เลือกเห็นแก่หน้าว่าจะเป็นผู้ใหญ่ ผู้น้อย หัวหมู่ หรือไพร่น้อยเมื่อกระทำผิดย่อมต้องได้รับโทษเช่นเดียวกัน

พ่อขุนเม็งรายสวรรคตขณะเสด็จประพาสกลางเมืองเชียงใหม่ โดยถูกอสุนีบาตตกต้องพระองค์เมื่อปี พ.ศ. 1860 รวมพระชนม์มายุได้ 80 พรรษา พระยาชัยสงครามพระราชโอรสได้ครองเมืองเชียงรายต่อมา
ด้วยพระราชกรณียกิจที่ทรงประกอบนานัปการ ด้วยพระอัจฉริยะและด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ที่มีต่ออาณาประชาราษฎรตลอดพระชนม์ชีพ จึงได้รับเทิดพระนามให้ทรงเป็นมหาราชอีกพระองค์หนึ่งที่คนทั่วไปรู้นักในพระ นามพ่อขุนเม็งรายมหาราช มหาราชแห่งแคว้นลานนา…ผู้สร้างเมืองเชียงราย


แหล่งท่องเที่ยวในอ.เมืองเชียงราย

วัดพระสิงห์
วัดพระสิงห์เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๕๒ ตารางวา ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหไคล ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย สันนิษฐานกันว่า น่าจะสร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ๑๙๒๘ ในรัชสมัยของพระเจ้ามหาพรหม พระอนุชาของพระเจ้ากือนา เจ้าเมืองเชียงใหม่ ซึ่งมาครองเมืองเชียงรายระหว่างพุทธศักราช ๑๘๘๘ - ๑๙๔๓

วัดร่องขุ่น
ออกแบบและสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน ์ ศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย สร้างขึ้นด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่น รังสรรค์งานศิลปะที่งดงามแปลกตาผสานวัฒนะธรรมล้านนาอย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนังขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัดคือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตาน่าสนใจมาก ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง

วัดพระแก้ว
วัดพระแก้ว เป็นจุดที่ค้นพบพระแก้วมรกต และเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตเป็นเวลา 45 ปี ก่อนที่จะเอิญไปยังเชียงใหม่ วันนี้แต่เดิมวัดนี้มีชื่อว่าวัดป่าเยี้ย หลังพระอุโบสถมีเจดีย์อยู่องค์หนึ่งซึ่งได้พังลงมาแล้วได้พบพระพุทธรูปลงรัก ปิดทององค์หนึ่งตกลงมาจากเจดีย์จึงได้อัญเชิญไปไว้วิหารหลวงได้ 2 เดือน ต่อมาปูนกระเทาะออกจึงเห็นเป็นแก้วสีเขียวทั้งองค์ หลังจากนั้นวัดนี้จึงเรียกสืบต่อกันมาว่า วัดพระแก้ว ปัจจุบันเจดีย์องค์ดังกล่าวได้รับการบูรณะใหม่เป็นเจดีย์หุ้มทองจังโก๋ เหลืองอร่ามทั้งองค์

วัดพระธาตุจอมทอง / วัดพระธาตุดอยจอมทอง
เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และ สร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งได้ออกเดินทางไปสู่เมืองลังกาทวีป และนำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งเป็น พระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสอง รวมสามองค์ ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

วัดพระธาตุจอมสัก
พระธาตุจอมสัก เดิมชื่อ พระธาตุดอยบ้านยาง เป็นวัดสังกัดมหานิกาย ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำกกมากนัก ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 92 ไร่ บริเวณรอบๆ เป็นวัดสวนป่าสัก จึงได้ชื่อว่าวัดพระธาตุจอมสัก จากการสำรวจของหัวหน้ากรมศิลปากรในครั้งนั้นได้ภาพถ่ายทางอากาศของวัดพระ ธาตุจอมสักมาดู พบว่าบริเวณรอบๆ มีคูน้ำล้อมรอบอยู่ จากหลักฐานทางที่จารึกบนใบลานพบว่า สร้างขึ้นในสมัยโยนกไชยบุรีศรีเชียงแสน

วัดพระธาตุดอยเขาควาย
ตามตำนานพื้นบ้าน เล่าว่า ประมาณ 1,000 กว่าปีล่วงมา ได้มีพระยาธรรมมิกะราช เจ้าผู้ครองเมืองเชียงรายสมัยนั้น เป็นผู้ก่อสร้างวัดพระธาตุดอยเขาควาย ขึ้นมา โดยได้นำพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นข้อมือนิ้วก้อยข้างซ้ายของพระพุทธเจ้าที่คณะสงฆ์เข้ามาเผยแพร่พระ พุทธศาสนาในดินแดนล้านนา ได้นำมาถวายให้พระยาธรรมมิกะราช จึงให้อันเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ใส่บรรจุไว้ในองค์เจดีย์ เพื่อให้ พุทธศาสนิกชนทั่วไปได้กราบไว้บูชา ต่อมาได้รับการปฏิสังขรณ์หลายครั้งในสมัยเชียงแสน และสมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปัจจุบันในทุกๆปีจะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันเพ็ญเดือนแปดเป็ง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญ วิสาขบูชา

วัดกลางเวียง
วัดกลางเวียง คือวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเวียงเชียงราย มีเสาหลักเมืองเชียงรายตั้งอยู่ สร้างขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 1975 เดิมชาวบ้าน เรียกว่า วัดจั๋นตะโลก หรือ วัดจันทน์โลก เพราะในวัดเคยมีต้นจันทน์แดงขนาดใหญ่ขึ้นอยู่ ถือเป็นไม้มงคลใช้บูชาพระตามธรรมเนียมโบราณ จนกระทั่งเมื่อมีการรังวัดเมืองเชียงรายใหม่ และพบว่าวัดแห่งนี้อยู่ใจกลางเมืองพอดี จึงได้สถาปนาสะดือเวียง หรือ เสาหลักเมืองขึ้น

โบราณสถานถ้ำพระ
โบราณสถานถ้ำพระ ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ 5 บ้านป่าอ้อ ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย (อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมืองเชียงราย ประมาณ 6 กม.) อยู่ริมแม่น้ำกกตรงข้ามกับหาดเชียงราย ลักษณะเป็นภูเขาหินลูกเดียว สูงประมาณ 800 เมตร ถ้านั่งเรือผ่านสามารถมองเห็นทัศนียภาพบริเวณโดยรอบภายนอกถ้ำ ภายในถ้ำพระมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระประธาน และยังมีพระพุทธรูปบูชาอีกหลายองค์ นอกจากนี้ในถ้ำยังมีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม และมีค้างคาวอยู่จำนวนมาก นอกจากถ้ำพระแล้วภายในภูเขาหินลูกนี้ ยังมีถ้ำอื่น ๆ อีก คือ ถ้ำช้างล้วง ถ้ำลม และถ้ำหวาย

วัดงำเมือง
วัดงำเมือง เป็นวัดที่เก่าแก่ที่มีความสำคัญเพราะเป็นที่ตั้งของกู่พญามังราย ตั้งอยุ่ถนนอาจอำนวย บ้านฮ่อมดอย (ชุมชนราชเดชดำรง) หมู่ที่1 ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ( อยู่ด้านหลังวัดพระแก้ว)

น้ำตกห้วยแม่ซ้าย
น้ำตกห้วยแม่ซ้าย อยู่บริเวณ หมู่ 11 บ้านห้วยแม่ซ้าย (บ้านจะแล) ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวเมือง 20 กม. (เส้นทางร่องเสือเต้น – ห้วยขม ) อยู่ในเขต อช. ลำน้ำกก แต่เส้นทางเข้าสู่ตัวน้ำตกค่อนข้างไกลและทุรกันดารเหมาะสำหรับรถกระบะ หรือรถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยวน้ำตกด้วยการนั่งช้างจากบ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร สิ่งน่าสนใจ น้ำตกห้วยแม่ซ้ายเป็นน้ำตกขนาดกลาง เกิดจากลำห้วยแม่ซ้าย ซึ่งมีต้นน้ำอยุ่ที่ดอยบ่อ มี 2 ชั้น

น้ำตกขุนกรณ์
น้ำตกขุนกรณ์ ตั้งอยู่ ต.แม่กรณ์ อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของ จ.เชียงราย สภาพพื้นที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 700-1500 เมตรโดยใช้เวลาเดินทางจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 30 นาที เมื่อก้าวลงจากรถจะได้สัมผัสกับความร่มรื่นเย็นสบาย จากธรรมชาติที่คอยต้อนรับผู้มาเยือนตลอดเวลาที่นี่ทุกท่านจะได้พบกัน น้ำตกขุนกรณ์ ที่ได้ชื่อว่าเป็นน้ำตกที่สูงที่สุด ใน จ.เชียงราย มีความสูงที่น้ำตกลงมาถึงด้านล่างประมาณ 70 เมตร

น้ำตกโป่งพระบาท
น้ำตกโป่งพระบาท ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอีกแห่งหนึ่งของตำบลบ้านดู่ ปัจจุบันอยู่ในการควบคุมของวนอุทยานลำน้ำกก (ฝั่งขวา ) โดยการควบคุมดูแลอยู่ในอำนาจของวนอุทยานลำน้ำกกทั้งหมด น้ำตกโป่งพระบาทอยู่ตรงจุดสิ้นสุดของถนนเส้นทางสาย 1151 โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 3,375ไร่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 500-1,000 เมตร บริเวณของน้ำตกโป่งพระบาทมีจุดที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแก่งหินต่างๆที่เป็นจุดพักผ่อน เช่น แก่งกระดานลื่น แก่งจู๋จี๋ แก่งรื่นรมย์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีจุดตั้งเต้นท์ที่บริการนักท่อง

หาดเชียงราย (พัทยาน้อย)
หาดเชียงราย (พัทยาน้อย) ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านป่างิ้ว หมู่ 4 ตำบลรอบเวียง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นสถานที่ท่องเที่ยวไม่ว่าจะเป็นชาวต่างชาติ หรือนักท่องเที่ยวชาวไทยนิยมมาเที่ยวกันมากพอสมควรโดยเฉพาะในช่วงเทศกาล

บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม
เป็นบ่อน้ำร้อนริมแม่น้ำกก ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของที่ทำการ อช. ลำน้ำกก เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวล่องเรือตามลำน้ำกกมานาน มีทิวทัศน์สวยงามร่มรื่น ในหน้าแล้งจะมีโปรแกรมขี่ช้างเที่ยว

บ่อน้ำร้อนผาเสริฐ
บ่อน้ำร้อนผาเสริฐ อยู่บริเวณริมลำห้วยโป่งน้ำร้อน บ้านผาเสริฐพัฒนา หมู่ที่ 6 ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย แต่เดิมบ่อน้ำพุร้อนผาเสริฐซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ลุ่มใกล้ลำน้ำกก ในฤดูฝนปริมาณน้ำในลำน้ำกกได้ไหลท่วมนองในพื้นที่บ่อน้ำร้อนเป็นเวลาหลาย เดือน และขาดการนำน้ำร้อนมาใช้อย่างจริงจัง มีเพียงการนำหน่อไม้มาแช่ต้มเท่านั้น ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2545 องค์การบริหารส่วนตำบลดอยฮาง

น้ำพุร้อนโป่งพระบาท
น้ำพุร้อนโป่งพระบาท บ้านโป่งพระบาท ม.6 ต.บ้านดู่ อ.เมืองเชียงราย เป็นน้ำพุร้อนตามธรรมชาติที่มีมานานแล้ว และได้มีการสำรวจอย่างจริงจังโดยขอให้สำนักงานทรัพยากรธรณีวิทยาเขต 3 ( เชียงใหม่ ) กรมทรัพยากรธรณี เข้าร่วมสำรวจคุณภาพของน้ำร้อน ต้นกำเนิดของน้ำพุร้อนเดิมบริเวณที่มีอยู่เป็นป่าไม้ไมยราพและแอ่งน้ำ และจุดที่พบน้ำร้อนเป็นลักษณะแอ่งน้ำร้อน (warm pool ) ที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 แอ่ง จากการสำรวจพบว่าอุณหภูมิร้อนผิวดินอยู่ระหว่าง 48-50 องศา

พิพิธภัณฑ์อูบคำ
ศูนย์อนุรักษ์มรดกอันล้ำค่าของอาณาจักรล้านนาโบราณ และความหลากหลายของเสื้อผ้า และอาภรณ์ของชนชาติไตเผ่าต่าง ในอาณาจักรล้านนา ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะอนุรักษ์ความเป็นมาอันยิ่งใหญ่ของชาวล้านนา ทำให้ อาจารย์จุลศักดิ์ สุริยะไชย จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์อูบคำเพื่อเป็นศูนย์อนุรักษ์มรดกล้ำค่าของอานาจักร ล้านนาโบราณ เช่นเครื่องใช้ในราชสำนักล้านนา เครื่องใช้ในราชสำนักคุ้มเจ้าต่างๆ ในล้านนา เช่น คุ้มเจ้าแพร่ คุ้มเจ้าเชียงใหม่ คุ้มเจ้าน่าน ฯลฯ ผ้าโบราณ อายุ 200 ปี

พิพิธภัณฑ์รอยพระบาท รัชกาลที่ 9
ประวัติความเป็นมาของรอยพระบาท ปี พ.ศ.๒๔๙๗ เริ่มสถานการณ์การก่อการร้ายในจังหวัดเชียงราย พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.)

สวนสาธารณะเกาะลอย
สวนสาธารณะเกาะลอย ชุมชนเกาะลอย (ติดแม่น้ำกก) อ.เมือง จ.เชียงราย หลายท่านอาจจะยังไม่เคยรู้ว่า ในตัวเมืองเชียงรายของเรามีสถานที่ออกกำลังกายที่สวยที่สุดอีกแห่งหนึ่ง เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และมิตรภาพ

สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ
สวนตุงและโคมเฉลิมพระเกียรติ เชียงราย ถ.ธนาลัย (เยื้องพิพิธภัณฑ์ชาวเขา) ต.เวียง อ.เมืองเชียงราย ที่ดินจำนวน 11 ไร่เศษ บริเวณถนนธนาลัย ตั้งอยู่ใจกลางย่านการค้าเทศบาลนครเชียงราย จ.เชียงราย ในอดีตเคยเป็นที่ตั้งของเรือนจำกลาง จ.เชียงราย ที่ก่อกำเนิดเกิดขึ้นมากว่า 100 ปี มีกลิ่นอายและตำนานการคุมขังนักโทษชายและหญิงในคดีต่างๆ กว่า 4,000 ชีวิต ซึ่งผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าออก บ้างก็ล้มหายตายจากไปก็ไม่น้อย แต่ด้วยความแออัดยัดเยียดของจำนวนนักโทษ

สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ เชียงราย
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ เชียงราย ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงราย ประมาณ 8 กม. บนเส้นทางเชียงราย – แม่จัน ตั้งอยู่ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย (เข้าไปทางด้านหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย)

อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก(บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม)
อุทยานแห่งชาติลำน้ำกก ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอแม่จัน อำเภอเมือง อำเภอแม่สรวย และอำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย โดยได้รวมพื้นที่วนอุทยาน 3 แห่ง ได้แก่ วนอุทยานน้ำตกขุนกรณ์ วนอุทยานน้ำตกห้วยแก้ว-บ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม และวนอุทยานน้ำตกโป่งพระบาท

รวมหมู่บ้านชาวเขา และหมู่บ้านกะเหรี่ยงคอยาว จ.เชียงราย
เที่ยวชม - อาข่า เย้า ลีซอ กะเหรี่ยงคอยาว กะเหรี่ยง ลาหู่ - บริการที่พักแบบ Home Stay - ศึกษาวัฒนธรรม - ศึกษาการเพาะปลูก/เกษตรกรรม/การทำนา - บริการที่พักแบบกางเต้นท์ Camping ท่ามกลางธรรมชาติอันสวยงาม แวดล้อมด้วยความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆ - นั่งเกวียน

มูเซอดอยปูไข่
เป็นชาวเขาเผ่าเดียวที่มีอยู่ในบ้านดู่ โดยขึ้นดอยไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตามเรื่องเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวว่า ได้อพยพมาจากเทือกเขาจากประเทศพม่า เข้ามาตั้งรกรากที่ดอยบ่อและชื่อหมู่บ้านนี้ตั้งตามชื่อผู้นำหมู่บ้านที่ ชื่อนายไข่ คือนายม่อนปูไข่และใกล้ๆจะเป็นหมู่บ้านของนายแสง ซึ่งเรียกว่าม่อนปูแสง ซึ่งปัจจุบัน ปูไข่ยังมีชีวิตอยู่ และต่อมาในสมัยกำนันติ๊บ พินิจ พ.ศ. 2525

ขี่ช้างเที่ยว..บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร..
บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำกกฝั่งซ้าย หมู่ 2 ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย นอกจากชาวกระเหรี่ยงแล้วยังมีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่าและลาหู่ในระแวกใกล้ เคียง หมู่บ้านกระเหรี่ยงเป็นหมู่บ้านขี่ช้างเที่ยวชมหมู่บ้านชาวเขา บ้านกะเหรี่ยงรวมมิตร มีหมู่บ้านบริวาร 1 หมู่บ้าน คือ บ้านดอยบ่อ 2 ( ชนเผ่าอาข่า ) บ้านรวมมิตรมีประชากรทั้งหมด 2,840 คน จำนวนครัวเรือน 1,549 ครัวเรือนประกอบไปด้วย ชนเผ่ากะเหรี่ย,อาข่า,ลาหู่,ลีซอ,ม้ง,ไทลื้อ

ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมชนเผ่า บ้านจะแล
ตั้งอยู่บริเวณ หมู่ 11 บ้านห้วยแม่ซ้าย(บ้านจะแล) ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ระยะทางจากจังหวัด ประมาณ 18 กิโลเมตร เส้นทางการเดินทาง โดยรถยนต์

สถานีเกษตรที่สูงตามแนวพระราชดำริ บ้านปางขอน
สถานีเกษตรที่สูงตามแนวพระราชดำริ บ้านปางขอน ตั้งอยู่บริเวณบ้านปางขอน หมู่ที่ 7 ต.ห้วยชมภู อ.เมือง จ. เชียงราย จากที่ว่าการอำเภอเมืองเชียงรายไปทางน้ำตกขุนกรณ์ระยะทางโดยประมาณ 45 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนยอดดอยเกี๊ย อากาศเย็นตลอดทั้งปี และยังเป็น แหล่งเพาะปลูกพืชผักและดอกไม้เมืองหนาวนานาชนิด สำหรับท่านที่ต้องการทานผักสดๆ

สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ดอยบ่อ
โครงการพระราชดำริ..ดอยบ่อ ของพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพื่อให้ความช่วยเหลือพี่น้องชาวเขา ให้ได้รับการเรียนรู้เกษตรแผนใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการทำไร่เลื่อนลอย จัดสรรที่ทำกินที่เหมาะสม ที่สามารถทำการเกษตรได้ทั่วทั้งปี มีระบบน้ำที่เอื้อต่อการเกษตร ชาวบ้านที่มาร่วมในโครงการจะเริ่มจากหมู่บ้านไกล้เคียงหลังจากนั้นจะทยอย ขยายสู่หมู่บ้านที่ไกลออกไปตามลำดับ ภายในโครงการพระราชดำริ ได้รับความร่วมมือจากหลายๆ

ไร่แม่ฟ้าหลวง (อุทยานศิลปะวัฒนธรรมแม่ฟ้าหลวง)
"อุทยานแห่งความสงบ งามอย่างล้านนา" ไร่แม่ฟ้าหลวงตั้งอยู่บริเวณพื้นราบทางตะวันตกของตัวเมืองเชียงราย ครั้งหนึ่งเคยเป็นสถานที่ฝึกอบรมเยาวชนชาวเขาจากหมู่บ้านต่างๆ ในภาคเหนือ

ดอยดัง..นางแล
ดอยดัง..นางแล...ขอเชิญ! นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาท่องเที่ยวใน จังหวัดเชียงราย จังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย มีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติมากมายทั้งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเกิด ขึ้นเองตามธรรมชาติ ในช่วงฤดูหนาว สถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงรายบางส่วน มีนักท่องเที่ยว จำนวนมากมาเที่ยวชมกันพร้อมกับสูดอากาศบริสุทธิ์และรับลมหนาว บรรยากาศแสนโรแมนติกและเย็นสบาย แต่มีสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ยังไม่มีใครเคยได้สัมผัส เป็นแหล่งท่องเที่ยวบุกเบิกเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวขาลุยทุกท่านที่ต้องการ ท่องเที่ยวในแดนที่ไม่เคยมีใครไปมาก่อนหรือเรียกได้ว่าเป็นรุ่นบุกเบิกเลยที เดียว ทางศูนย์ฯขอแนะนำ "ดอยดัง...นางแล"

พุทธอุทยานธุดงวัดพระธาตุดอยอินทรีย์
พุทธสถานธุดงวัดพระธาตุดอยอินทรีย์(วัดดอยอินทรีย์) ตั้งอยู่ที่บริเวณ บ้านห้วยกีด ตำบลดอยฮาง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย เป็นโครงการพัฒนาป่าไม้ (โครงการพระสงฆ์ช่วยงานด้านป่าไม้) ได้สร้างพระพุทธรูปปางตรัสรู้ โดยมีหน้าตักกว้าง 10.09 เมตร สูง 15.10 เมตร และพระเจดีย์ฐานกว้าง 13 คูณ 13 เตร สูง 10 เมตร เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเชียงราย และบริเวณพระเจดีย์ยังเป็นจุดชมวิวตัวเมืองเชียงรายที่สวยงามที่สุดอีกแห่ง หนึ่งของเชียงราย

กำแพงเมืองจีนจำลอง
มูลนิธิอุบลรังสีจุฬามณี - กำแพงเมืองจีนจำลอง พื้นที่การดำเนินการก่อสร้างอาคารต่างๆ ของ “มูลนิธิอุบลรังสีจุฬามณี” ซึ่งตั้งอยู่ด้านซ้ายมือบนเนินเขาน้อยใหญ่ ในพื้นที่กว่า 119 ไร่ เปิดให้เข้าชม วันศุกร์ – เสาร์ – อาทิตย์ และ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 – 17.00 น.

ล่องเรือแม่น้ำกก (ท่าตอน-เชียงราย)
ท่าตอนเป็นหมู่บ้านริมแม่น้ำกก เหนือขึ้นไปจากอำเภอฝาง 24 กิโลเมตร จากเชียงใหม่มีรถประจำทางออกจากประตูช้างเผือกไปลงที่ฝางใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง แล้วจะมีรถสองแถววิ่งประจำระหว่างฝางกับท่าตอน ใช้เวลาประมาณ 30 นาที มีเรือหางยาวบริการถึงเชียงราย ออกจากท่าตอนเวลา 12.30 น. ถึงเชียงราย 16.30 น. และจากเชียงรายเวลา 10.30 น. ถึงท่าตอน 15.30 น. ระยะทาง 80 กิโลเมตร สามารถนั่งได้ 8 คน สำหรับผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานชมรมเรือบ้านท่าตอน โทร. (053) 459427

สวนป่าแม่ยาว-แม่ซ้าย
สำนักงานอนุรักษ์และพัฒนาสวนป่าเชียงราย ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยบ่อ มีภูเขาสูงชัน สลับซับซ้อนมีพื้นที่ราบค่อนข้างน้อย สวนป่าแห่งนี้ตั้งชื่อตามลำห้วยที่ผ่านหน้าสวนขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ อากาศเย็นตลอดปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 ได้รับมอบพื้นที่แห่งนี้จากบริษัทเชียงรายทำไม้ จำกัด ปัจจุบันทำการปรับปรุงพื้นที่ตามโครงสร้างขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ปี 2545 ตั้งอยู่บ้านห้วยแม่ซ้าย อยู่ในเขตอำเภอเมือง ห่างจากถนนใหญ่เพียง 20 กิโลเมตร พื้นที่ป่าริมทาง

อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช
พ่อขุนเม็งราย เป็นราชโอรสของพระเจ้าลาวเมงแห่งราชวงศ์ ลั๊วจังกราชผู้ครองหิรัญนครเงินยาง กับพระนางอั้วมิ่งจอมเมืองหรือพระนางเทพคำขยาย ราชธิดาของท้าวรุ่งแก่นชายเจ้าเมืองเชียงรุ้ง พระองค์ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุนเอกศกจุลศักราช 601 ตรงกับพุทธศักราช 1781

วนอุทยานดอยกาดผี
วนอุทยานดอยกาดผี ตั้งอยู่บริเวณบ้านห้วยชมภู ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ลาวฝั่งซ้ายและแม่กกฝั่งขวา ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีเนื้อที่ประมาณ 6,250 ไร่ เป็นแหล่งที่มีทิวทัศน์สวยงามที่สำคัญของราษฎรในท้องถิ่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว ตลอดจนเทศกาลและประเพณีต่างๆ

วนอุทยานน้ำตกตาดสวรรค์
วนอุทยานน้ำตกตาดสวรรค์ อยู่ในบริเวณ ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวดเชียงราย ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดอยปุย มีเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549

น้ำตกห้วยแก้ว
ตั้งอยู่บริเวณบ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 7 ต.ดอยฮาง อ.เมือง จ.เชียงราย ห่างจากบ่อน้ำร้อนห้วยหมากเลี่ยม 6.5 กม. เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีน้ำไหลแรงตลอดปี และห่างจากตัวเมืองเชียงราย 25 กม.


แหล่งท่องเที่ยวในอ.แม่จัน

ทุ่งดอกบัวตอง บนดอยหัวแม่คำ
ดอยหัวแม่คำ เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง ลีซอและอาข่า อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,850 เมตร จากเส้นทางขึ้นดอยแม่สลองสายเก่า 1130 แล้วเลี้ยวขวาที่สามแยกอีก้อ ผ่านบ้านเทอดไทย ไปจนถึงบ้านแม่คำ ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 100 กม. ใช้เวลาเดินทาง ประมาณ 2 ชม. เป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ขึ้นและทะเลหมอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในราวกลางเดือนพฤศจิกายน ถึงต้นเดือนธันวาคม ดอกบัวตองจะบานสะพรั่งไปทั้งหุบเขาแซมอยู่ตามหมู่บ้านชาวเขาดูสวยงามมาก

สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง
สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำป่าอาชาทอง ซึ่งอยู่ในถิ่นกันดารห่างไกลคมนาคม บนดอยสูง ต.ศรีค้ำ อ.แม่จัน จ.เชียงราย แม้แต่ชาวบ้านยังต้องใช้ม้าแกลบ ในการเดินทางและบรรทุกสัมภาระ เหตุนี้เจ้าอาวาสของสำนักสงฆ์ฯ อดีตนายทหารม้าเก่า จึงให้พระเณรที่นี่ใช้ม้าเป็นพาหนะในการออกบิณฑบาตรไปยังหมู่บ้านสี่หมื่นไร ่วิ่งระยะทางร่วม 5 กม.

น้ำพุร้อนป่าตึง หรือ โป่งน้ำร้อนห้วยหินฝน
น้ำพุร้อนป่าตึง หรือ โป่งน้ำร้อนห้วยหินฝน บ้านป่าตึง ม.11 ต.ป่าตึง อ.แม่จัน อยู่ระหว่างทางไปดอยแม่สลองสายใหม่ (ทางหลวงหมายเลข 1089)

ศูนย์พัฒนาและสงเคราห์ชาวเขาจังหวัดเชียงราย
ศูนย์พัฒนาและสงเคราห์ชาวเขาจังหวัดเชียงราย บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ บ้านหัวยริน จะคือ จะบูสี แสนสุข ร่มฟ้าสยาม ยางคำนุ หัวแม่คำ

ลานทองอุทยานวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง
ตั้งอยู่กิโลเมตรที่ 12 ของทางหลวงหมายเลข 1089 (แม่จัน - ท่าตอน) ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 36 กิโลเมตร มีเนื้อที่กว่า 400 ไร่ จัดเป็นหมู่บ้านทางวัฒนธรรม เพื่อแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง ท่ามกลางบรรยากาศที่เป็นหุบเขา และลำห้วยขุนน้ำแม่จัน มีอุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ ห้อมล้อมด้วยไร่ชา และสวนดอกท้อ มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ ขี่ช้าง นั่งเกวียน มีการแสดงของช้าง การสาธิตต่าง ๆ เช่น การทำเครื่องเงิน เครื่องจักสาน การทำกระดาษสา การปั่นฝ้ายทอผ้า งานเย็บปัก

วัดพระธาตุจอมจันทร์
พระครูบาทิพย์ เจ้าอาวาสวัดบ้านแหลว เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2453 โดยเห็นนิมิตในคืนหนึ่ง เป็นแสงพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าสว่างไสวระยิบระยับสีเขียวบนดอยที่ตั้งขององค์พระ ธาตุ สักครู่ก็หายไป เช้าวันรุ่งขึ้นพระครูบาทิพย์จึงชวนสามเณรขึ้นไปสำรวจตรวจตราดูบนดอนยแห่ง นี้ เห็นว่าเป็นสถานที่ที่เหมาะสมแก่การสร้างพระธาตุเจดีย์เป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าดอยแห่งนี้มีคูล้อมรอบ โดยการขุดของคนโบราณ ซึ่งไม่ติดกับดอยลูกใดเลยในบริเวณใกล้เคียงกัน จึงชักชวนญาติโยมสาธุชนทั้งหลายร่วมกันก่อสร้างเจดีย์

แหล่งท่องเที่ยวในอ.แม่ฟ้าหลวง

ดอยแม่สลอง
ดอยแม่สลอง ห่างจากตัวเมืองเชียงราย 75 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1.5 ชั่วโมง เป็นชื่อเรียกรวม ๆ ของชุมชนชาวจีนฮ่อแห่งกองพล 93 ที่ตั้งหลักแหล่งบนดอยแห่งนี้มานานกว่า 40 ปี ปัจจุบันชุมชนชาวจีนบนดอยแม่สลองมีชื่อว่า หมู่บ้านสันติคีรี ตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,200 ม. อากาศเย็นสบายตลอดปี รายได้หลักมาจากการปลูกชาอู่หลง บ้านสันติคีรีเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรประมาณ 800 หลังคาเรือน มีทั้งวัด โบสถ์คริสต์ มัสยิด ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์ และธนาคารทหารไทย ที่ให้บริการอย่างสมบูรณ์แบบ

พระตำหนักดอยตุง
พระตำหนักดอยตุง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเรียกพระตำหนักนี้ว่า "บ้านที่ดอยตุง" วัตถุประสงค์แรกทั้งรัฐบาล ข้าราชบริพารตั้งใจให้เป็นที่ประทับแปรพระราชฐานแทนที่จะเสด็จไปประทับ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ แต่สำหรับพระองค์ท่านแล้ว หากว่าไม่มีโครงการพัฒนาดอยตุงฯ ไม่มีงานถวายให้ทรง ไม่เสด็จมาประทับอยู่ที่นี่

วัดเวียงคำกาขาว
วัดเวียงคำกาขาว ตั้งอยู่บ้านเทอดไทย ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีองค์พระทรงชัยรัตนพลังแผ่นดิน ขนาดหน้าตักกว้าง 8 เมตร สูง 10 เมตร อยู่บนอาคาร 3 ชั้น สามารถขึ้นไปเที่ยวชมวิวได้อีกจุดหนึ่ง



แหล่งท่องเที่ยวในอ.แม่สาย

วัดถ้ำผาจม
สิ่งที่น่าสนใจในวัดถ้ำผาจมได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระธาตุ ซึ่งได้รวบรวมพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุ อัฐิ เกศา และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยครูบาอาจารย์องค์ต่างๆทั่วประเทศไทย

วัดพระธาตุดอยเวา
ตามประวัติกล่าว พระองค์เวาหรือเว้า ผู้ครองนครนาคพันธ์โยนก เป็นผู้สร้างเพื่อบรรจุพระเกศาธาตุองค์หนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 364 นับเป็นพระบรมธาตุที่เก่าแก่องค์หนึ่งรองมาจากพระบรมธาตุดอยตุง นอกจากนี้ยังมีหอชมทิวทัศน์ซึ่งสามารถชมทิวทัศน์ในตัวเมืองแม่สาย และจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนม่าร์ ได้อย่างชัดเจน และยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระสุพรรณกัลยา

ถ้ำปุ่ม-ถ้ำปลา
ถ้ำปลา ตั้งอยู่ บ้านโป่งงาม ต.โป่งงาม อ.แม่สาย ลักษณะเป็นลำธารเล็กๆไหลออกจากใต้ภูเขาหินปูน ไหลทะลุผ่านภูเขาหลายเส้นทางโดยไหลออกทางหน้าปากถ้ำด้านทิศตะวันออกสายน้ำ เหล่านี้มีต้นกำเนิดมาจากน้ำตกห้วยเนี้ย ถ้ำนี้วัดความกว้างได้ประมาณ 2.50 เมตร

วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน
อยู่ในท้องที่ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอน มีเนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ กรมป่าไม้ได้ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยานเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2529

ตลาดแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก
ท่าขี้เหล็ก จังหวัดชายแดนของพม่า จำหน่ายสินค้านานาชนิด ประเภทอัญมณี พลอยสี ทับทิม หยก เครื่องใช้ไฟฟ้าคุณภาพต่ำ ราคาถูกจากประเทศจีน อาหารทะเลแห้ง เหล้า บุหรี่ (ซึ่งมักเป็นของปลอม) เมื่อข้ามมาฝั่งท่าขี้เหล็กจะมีรถสามล้อเชิญชวนให้นั่งรถไปท่องเที่ยวเจดีย์ ชเวดากองจำลอง ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปจากชายแดนประ-มาณ 2 กม. ลักษณะเป็นเจดีย์สีทองแบบพม่า สร้างจำลองมาจากเจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง ราคา 50-80 บาท นอกจากนี้ยังมีมอเตอร์ไซค์รับจ้างพาไปยังจุดต่าง ๆ เช่นตลาดพลอย 20 บาท แต่ควรตกลงราคาก่อนว่าเป็นราคาเที่ยวเดียว หรือราคาเหมา

วัดถ้ำเสาหินพญานาค
ประวัติวัดถ้ำเสาหินพญานาค สภาพวัดแต่เดิมก่อนสร้างวัด มีลักษณะเป็นเนิดินมีคูน้ำล้อมรอบบริเวณ คล้ายกับที่ตั้งของเมือง(เวียง)ในสมัยก่อนๆ ด้านทิศตะวันตกติดกับภูเขา

ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ /ร้านจันกะผัก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดำเนินการจัดตั้ง "ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ" ขึ้น เป็นที่ระลึกในวาระครบรอบ 100 ปี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุง และพัฒนาพันธุ์พืช ให้เกษตรกรได้มีพืชที่มีสายพันธุ์ที่ดี ทนทานต่อโรคและแมลง ได้ผลผลิตที่ดี

โรงงานจินนาลักษณ์กระดาษสา
โรงงานจินนาลักษณ์กระดาษสา เปิดบริการแหล่งท่องเที่ยวทำกิจกรรมสร้างสรรค์ ผลงานฝีมือจากกระดาษสา ด้วยตัวท่านเอง ที่ workshop ของเราซึ่งมีที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นการเดินทางไปเที่ยว สามเหลี่ยมทองคำ – แม่สาย

แหล่งท่องเที่ยวในอ.เชียงแสน

วัดพระธาตุจอมกิตติ
วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (อยู่ถนนเลียบแม่น้ำเชียงแสน - เชียงของ) ตามพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าพังคราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง เมื่อ พ.ศ. 1483 สมัยเดียวกับการสร้างพระธาตุจอมทอง เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสองสมัยเชียงแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2030 หมื่นเชียงสงได้ก่อสร้างเจดีย์องค์ใหม่อยู่อีกองค์หนึ่ง คือ พระธาตุจอมแจ้ง

วัดป่าสัก
วัดป่าสัก อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร ในเขตตำบลเวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พระเจ้าแสนภู โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 1930 เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

วัดพระธาตุเจดีย์หลวง
วัดพระธาตุเจดีย์หลวง อำเภอเชียงแสน เป็นวัดที่เก่าแก่ของเมืองเชียงแสน สร้างโดยพระเจ้าแสนภู พระราชนัดดาของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาไท เมื่อ พ.ศ. 1887 (ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 19 ) หลังจากนั้นพระเจ้าแสนภูได้เสด็จไปครองเมืองเชียงใหม่แทนพระราชบิดา คือ พระเจ้าชัยสงครามซึ่งเสด็จมาประทับยังเมืองเชียงราย พร้อมทั้งนำอัฐของพระราชบิดา คือพ่อขุนเม็งรายมหาราชที่เสด็จสวรรคตที่เชียงใหม่กลับมายังเมืองเชียงราย ด้วย

วัดพระธาตุผาเงา
ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำโขงทางด้านทิศตะวันตก ตรงกันข้ามกับประเทศลาว อยู่ในหมู่บ้านสบคำ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน อยู่ทางทิศใต้ของตัวอำเภอเชียงแสนประมาณ 3 กม. หรืออยู่ห่างจากสามเหลี่ยมทองคำประมาณ 15 กม. มีพื้นที่ทั้งหมด 743 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาเล็กๆ ทอดยาวลงมาตั้งแต่บ้านจำปี ผ่านบ้านดอยจันและ มาสิ้นสุดที่บ้านสบคำ แต่ก่อนเขาเรียกดอยลูกนี้ว่า “ดอยคำ” แต่มาภายหลังชาวบ้านเรียกว่า “ดอยจัน”

วัดพระธาตุดอยปูเข้า
วัดพระธาตุดอยปูเข้า หรือวัดพระธาตุภูเข้า บ้านสบรวก หมู่ที่ 1 ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย (ตามเส้นทางเชียงแสน - สบรวก แยกซ้ายก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย )

วัดพระเจ้าล้านทอง
ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองเชียงแสน ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พระพุทธรูปน้ำหนัก 1200 กิโลกรัม ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมืองโบราณ พระเจ้าทองงั่วหรือพระยาครีรับฏเงินกอง พระราชโอรสของพระเจ้าติโลกราชเป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ.2032

พระพุทธนวล้านตื้อ พระเชียงแสนสี่แผ่นดิน
พลิกฟื้นพระเจ้าล้านตื้อ ประวัติศาสตร์ลำน้ำโขงของเมืองเชียงแสน ลำน้ำโขงเป็นสายน้ำใหญ่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนสองฝากฝั่ง สายน้ำไหลเชี่ยว ดุดัน จากจีน มุ่งผ่าน พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และกัมพูชา ประวัติศาสตร์ ของชาติต่างๆ ในลุ่มแม่น้ำโขง จึงหนีไม่พ้นสายน้ำแห่งนี้

สบรวก (สามเหลี่ยมทองคำ)
อยู่ห่างจากอำเภอแม่สาย 28 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 1290 เป็นบริเวณที่แม่น้ำโขงและแม่น้ำรวกมาบรรจบกัน หรือที่เรียกว่า สบรวก เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย ลาว พม่า บริเวณนี้เคยมีการค้าฝิ่น

หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ
หอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ เป็นเสมือนประตูเปิดสู่โลกอันลึกลับของพืชชนิดนี้ จากความมืดมนน่าหวาดกลัว สู่ความแจ่มจรัสและรู้แจ้ง พื้นที่ 5,600 ตารางเมตรแสดงลำดับเรื่องราวของฝิ่น โดยเริ่มจาธรรมชาติวิทยาของฝิ่น การสืบประวัติการใช้ฝิ่นในยุคโบราณกลับไป 5,000 ปี ประวัติการแพร่กระจายของฝิ่นจากการค้าสมัยจักรวรรดินิยม เหตุการณ์พลิกประวัติศาสตร์ที่สร้างความอดสูแก่ผู้ชนะและผู้แพ้สงครามฝิ่น อันนำไปสู่การล่มสลายของราชวงค์แมนจู ความชาญฉลาดของประเทศสยามในการเผชิญกับมหาอำนาจตะวันตกและการควบคุมปัญหา ฝิ่น

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงแสน
ตั้งอยู่ในตัวเมืองเชียงแสน เลขที่ 702 ถ. พหลโยธิน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย

พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น
พิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น (House of Opium Museum) บ้านฝิ่นเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนเล็ก ๆ แต่วัตถุสิ่งของที่จัดแสดงนั้นน่าสนใจมาก เป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องมือและเครื่องใช้ในการสูบฝิ่นของผู้คนในอดีต มีทั้งประวัติของสามเหลี่ยมทองคำ

ดูนก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย (ทะเลสาปเชียงแสน)
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย หรือ ทะเลสาบเชียงแสน ตั้งอยู่ที่ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เดิมเป็นหนองน้ำธรรมชาติ ซึ่งถูกล้อมรอบด้วยเนินเขา ต่อมาทางราชการได้สร้างเขื่อนกั้นทางน้ำ จึงทำให้เกิดเป็นทะเลสาบย่อย ๆ ขึ้น มีพื้นที่ประมาณ 2,711 ไร่

แหล่งท่องเที่ยวในอ.เทิง

ภูชี้ฟ้า
ประวัติ ภูชี้ฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกดอยผาหม่น ที่เป็นพรมแดนไทย-ลาว ด้าน จ.เชียงราย-พะเยา ลักษณะเป็นหน้าผาหินตั้ง อยู่บนเส้นกั้นพรมแดนพอดี ในอดีต เป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของ พคท. ด้วยสภาพภูมิประเทศที่สูงชัน จึงเป็นฐานที่มั่นที่สำคัญ ชาวลาวและชาวไทย ในพื้นที่เรียกผาหินที่ชี้เหยียดตรงขึ้นไปบนฟ้าว่าภูฟ้า เมื่อปัญหาด้านความมั่นคงคลี่คลาย มีการตัดถนนขนานแนวชายแดน ไทย-ลาว จากบ้านผาตั้ง ภูชี้ฟ้า ไปถึง อ.เชียงคำ ภูชี้ฟ้าจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ.2534 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม บนยอดภูชี้ฟ้า เป็นจุดที่ยื่นจากแนวเขตพรมแดน จึงไม่สามารถระบุชัดได้ว่า อยู่ในเขตไทยหรือลาว แต่ทางขึ้นสู่ยอดภูชี้ฟ้านั้นอยู่ในเขตไทย เคยมีการปักธงชาติไทยบนปลายสุดของหน้าผา แต่ในวันถัดมา ทหารลาวก็จะนำธงลาวมาปักเคียงคู่กันด้วย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย จึงห้ามนักท่องเที่ยวพักแรมบนภูชี้ฟ้า

ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงดอยผาหม่น (ดอกทิวลิป)
ที่ตั้ง ดอยผาหม่น อำเภอเทิง เป็นศูนย์ส่งเสริมการเพาะปลูกดอกไม้เมืองหนาว เช่น ดอกทิวลิป ดอกลิลลี่ ดอกซัลเวียสีแดง ต้นคริสต์มาสสีแดง หลากสีหลายพันธุ์ โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวดอกไม้จะออกดอกสวยงามเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่ เดินทางมาเที่ยวชม รอบบริเวณยังมีทิวทัศน์สวยงามดูแล้วสดชื่นท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็น

ภูผาสวรรค์
ภูผาสวรรค์ ตั้งอยู่ที่บ้านร่มโพธิ์ทอง หมู่ที่ 19 ตำบลตับเต่า อยู่ห่างจาก วนอุทยานภูชี้ฟ้า ประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่มีหน้าผาสูงยื่นนออกไปตามแนวชายแดนไทย – ลาว สภาพป่าโดยรอบเป็นป่าที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ และยังเป็นจุดผ่อนปรนชั่วคราวของประเทศไทย – ลาว สามารถกางเต็นท์ ชมทะเลหมอกได้สวยงาม ไม่แพ้ยอดแหลมภูชี้ฟ้า ติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ อบต.ตับเต่า

พระเจ้าสองสี
พระเจ้าสองสี ตั้งอยู่ ตำบลหงาว อำเภอเทิง จังหวังเชียงราย ห่างจากแยกบ้านปี้ ทางขึ้นภูชี้ฟ้าเพียง 1 กิโลเมตร หงาว เป็นนตำบลเล็กๆ

น้ำตกตาดห้วยใคร้
บ้านใคร้ หมู่ที่ 3 และบ้านใคร้หมู่ 22 ในเขตุตำบลตับเต่า อำเภอเทิง ห่างจาก ตัวอำเภอ ไปทาง ภูชี้ฟ้า 13 กิโลเมตร ห่างจาก ตัวอำเภอ ไปทาง ภูชี้ฟ้า 13 กิโลเมตร

พระธาตุจอมจ้อ
พระธาตุจอมจ้อ ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมจ้อ ตำบลเวียง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๖- ๖๔๔๙ มีพระมหาชูศักดิ์เป็นเจ้าอาวาส ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมจ้อเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิที่อยู่คู่เมืองเทิงมาตั้งแต่สมัยโบราณ กาล ประวัติพระธาตุจอมจ้อจากคัมภีร์เก่าแก่ที่ตั้งโดยนักปราชญ์ผู้ชำนาญในด้าน ภาษาบาลีของอำเภอเมืองเทิง (เมืองเถิง) ในสมัยนั้นได้กล่าวว่า ในกาลสมัยเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาสุวรรณภูมิ พระองค์ได้พักอยู่ใต้ต้นอโศกบนดอยใกล้แม่น้ำอิง

แหล่งท่องเที่ยวในอ.เวียงแก่น

ดอยผาตั้ง
เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดอยผาหม่น ซึ่งเป็นเทือกเขาแนวพรมแดนไทย-ลาว สูง 1,800 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ดอยผาตั้งถือเป็นเป็นจุดชมวิวไทย-ลาว และทะเลหมอกที่สวยงามไม่แพ้ภูชี้ฟ้า รถยนต์สามารถขึ้นเกือบถึงจุดชมวิวบริเวณเนินร้อยสามได้ บนจุดชมวิวจะเป็นแนวเขาซึ่งชมวิวได้ตลอดแนว

แก่งผาได
ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านห้วยลึก ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 14 กิโลเมตร

เมืองโบราณดงเวียงแก่น
เมืองโบราณดงเวียงแก่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านม่วง ตำบลม่วงยาย อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากตัวอำเภอเวียงแก่น ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 200 เมตร เป็นเมืองโบราณ ตั้งอยู่บนเนินสูงราว 30 – 35 เมตร เนื้อที่ประมาณ 286 ไร่ 1 งาน 86.09 ตารางวา เป็นพื้นที่ป่ารกทึบ มีพืชพันธุ์ทางธรรมชาติ สมุนไพร และสัตว์ป่านานาชนิด ปัจจุบันได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว เป็นพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงยาย

แหล่งท่องเที่ยวในอ.เชียงของ


พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดหลวง
พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านวัดหลวง ตั้งอยู่วัดหลวง ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โทร. ๐๕๓-๗๘๓๖๘๖, ๐๙-๒๖๖๔๓๗๖ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง ๑. เพื่อรวบรวมวัตถุสิ่งของ อุปกรณ์เครื่องใช้ของชาวบ้าน และชนเผ่า ๒. เพื่อเป็นที่ศึกษาเรียนรู้ของเยาวชน นักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ๓. เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของบุคคลทั่วไป

บ้านหาดบ้าย
หมู่บ้านหาดบ้าย-หาดทรายทอง เป้นหมู่บ้านชาวไทยลื้อ ที่มีวัฒนธรรมอันสวยงาม ตลอดจนถึงภาษาพุดก็เช่นกัน และเป็นอีกหมู่บ้านที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขง

ท่าเรือบั๊ก
จุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย - ลาว ริมฝั่งแม่น้ำโขง มองเห็นทิวทัศน์ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้

วนอุทยานห้วยทรายมาน
วนอุทยานห้วยทรายมาน อยู่ในท้องที่ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย อยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่โขงฝั่งขวา มีเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทบานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2549

แหล่งท่องเที่ยวในอ.แม่สรวย

ดอยวาวี ดอยช้าง ดอยกาดผี
บ้านดอยช้าง ตั้งอยู่หมู่ที่ ๓ ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 57180 เดิมเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าม้ง ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ชนเผ่าลีซอได้อพยพเข้ามาตั้งเป็นหมู่บ้านดอยช้าง ปี พ.ศ.๒๕๒๖ ชนเผ่าอาข่าได้เข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้านดอยช้าง ชื่อ "บ้านดอยช้าง" ตั้งขึ้นตามลักษณะของภูเขาที่มีรูปร่างเหมือนช้างแม่ลูกสองเชือก หันหน้าไปทางทิศเหนือ(ตัวจังหวัดเชียงราย) สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่บริเวณโรงเรียนบ้านดอยช้าง มี ผาหัวช้าง สูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเล เป็นสถานที่ชมทิวทัศน์ที่สวยงาม อากาศเย็นสบายตลอด


แหล่งท่องเที่ยวในอ.ขุนตาล

ภูหลงถัง-วนอุทยานพญาพิภักดิ์
หลงถัง "ดินแดนสระน้ำมังกร" สระน้ำที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติอยู่เหนือระดับน้ำทะเล 1200 เมตร ชนเผ่าม้งในแถบนี้เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของมังกร ภูหลงถังตั้งอยู่ห่างจากถนนเทิง-ขุนตาล-เชียงของ เพียง 6 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางเพียง 15 นาทีปี อุณหภูมิเฉลี่ย 18 องศาเซลเซียส


Advertising Zone    Close

Online: 2 Visits: 54,496 Today: 10 PageView/Month: 192

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...